ท้องผูกเรื้อรัง

ติดต่อสอบถาม โทร : 082-656-3726  facebook : คลินิกหมอเมธัส สงขลา

ท้องผูกเรื้อรัง ทำไงดี?

ท้องผูกเรื้อรัง คืออะไร?

ท้องผูกเรื้อรัง คือ อาการถ่ายลำบาก ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระแข็ง ถ่ายลำบาก ต้องเบ่งถ่าย อุจจาระมีก้อนเล็ก ถ่ายไม่สุด ถ่ายแล้วรู้สึกไม่สบายท้อง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นนานกว่า 4 สัปดาห์ หรือมีอาการเรื้อรังนานกว่า 3 เดือน

สาเหตุของท้องผูกเรื้อรัง

การรักษาท้องผูกเรื้อรัง

การรักษาท้องผูกเรื้อรังขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อน เช่น ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ออกกำลังกายเป็นประจำ เข้าห้องน้ำเป็นประจำในเวลาเดียวกันทุกวัน

หากปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระบายช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เช่น ยาระบายกลุ่มออสโมติก ยาระบายกลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ หรือยาระบายกลุ่มเพิ่มกากใยในลำไส้

เมื่อไหร่ถึงควรจะส่องกล้องทางเดินอาหาร

หากมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมกับอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งลำไส้ เช่น อุจจาระมีเลือดปน, น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, เบื่ออาหาร, ปวดท้องเรื้อรัง, คลื่นไส้ อาเจียน, อ่อนเพลีย หรือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งรำไส้ ก็ควรพบแพทย์ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งลำไส้

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคนี้ การตรวจคัดกรองสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง และดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้อาการดีขึ้นและหายขาด หากจำเป็นแพทย์อาจแนะนำให้ส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อหาสาเหตุต่อไป


บทความโดย: นพ.เมธัส อรัญนารถ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ทั่วไป